1. โรคแคงเกอร์ จะเกิดขึ้นได้แทบทุกส่วนของมะนาว ทั้งที่ใบ กิ่งก้าน และผล โดยอาการที่ใบและผล จะมีลักษณะเป็นแผลกลม แล้วจะขยายใหญ่ ฟู นูนคล้ายฟองน้ำ มีสีเหลืองอ่อนถึงสีเหลืองเข้ม ต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม และจะแตกเป็นสะเก็ด มีวงแหวนสีเหลืองล้อมรอบแผล ส่วนอาการที่กิ่งก้าน จะมีแผลฟูนูนสีเหลือง ต่อมาแผลจะ แตกแห้งเป็นสีน้ำตาลขยายไปรอบๆ กิ่ง รูปร่างของแผลไม่แน่นอน และไม่มีวงแหวนล้อมรอบ เมื่อต้นมะนาวเป็นโรคนี้มากๆ จะแสดงอาการต้นโทรม แคระแกร็น ใบร่วง ผลผลิตทางการเกษตรจะลดลง กิ่งและต้นจะแห้งตายในที่สุด การป้องกันและกำจัดโรคแคงเกอร์ คือ เกษตรกรควรตัดแต่งส่วนที่เป็นโรคเผาทำลาย พยายามอย่าให้มะนาวเกิดบาดแผล และ ป้องกันแมลงที่เป็นพาหะ เช่น หนอนชอนใบ หรือฉีดพ่นด้วยสารเคมี กำจัดแมลงกลุ่มคาร์บาริล มาลาไธออน
2. โรคราดำ ลักษณะอาการ ใบ กิ่งก้าน และผลจะมีราสีดำ สกปรกกระด้างทำให้ผลมะนาวไม่สวย ต้นมะนาวจะแคระแกร็น การป้องกันและกำจัดโรคราดำ เกษตรกรควรทำลายส่วนที่เป็นโรคโดยการเผาไฟหรือใช้สารเคมีกำจัดแมลงฉีดพ่นเพื่อกำจัดแมลงประเภทปากดูดชึ่งเป็นสาเหตุ ทำให้เกิดโรคราดำ
3. โรคกรีนนิ่ง (ใบแก้ว) ลักษณะอาการ ใบมะนาวจะด่างเป็นสีเหลืองหรือขาวใสระหว่างเส้นใบ ใบของมะนาวจะมีขนาดเล็กลง จากนั้นใบและยอดจะแห้งตาย ผลของมะนาวจะมีขนาดเล็ก น้ำหนักน้อย ต้นจะโทรม การป้องกันและกำจัดโรคกรีนนิ่ง เกษตรกรควรทำลายส่วนที่เป็นโรคโดยการเผาไฟ ใส่ปุ๋ยที่มี ธาตุสังกะสีและ แมกนีเชียม ปรับสภาพความเป็นกรดและด่างของดินใหัอยู่ระหว่าง 6.0-6.5
4. โรคยางไหล ลักษณะอาการ มีอาการยางไหลบริเวณลำต้นและกิ่งก้านของมะนาว เปลือกจะเน่าและแผลจะลุกลามไปถึงเนื้อไม้ การป้องกันและกำจัดโรคยางไหล เกษตรกรควรตัดแต่งกิ่งและกำจัดวัชพืชเพื่อให้แสงแดดส่องได้ทั่วถึงต้นมะนาว และควรทาบาดแผลที่เกิดด้วยสารทองแดงหรือกำมะถันผสมปูนขาว ถ้ามีการระบาดมากก็เผาทิ้ง
5. โรครากเน่าและโคนเน่า ลักษณะอาการ รากฝอยและรากแขนงจะเน่ามีสีน้ำตาลหรือดำ ลักษณะเหนียว ไม่ยุ่ย เปลือกของลำต้นจะปริแตกออก โดยเฉพาะโคนต้น และมียางไหลบริเวณขอบแผล เมื่อรากและต้นถูกทำลายมากๆ จะทำให้ใบเหลืองและร่วงหล่น การป้องกันและกำจัดโรครากเน่าและโคนเน่า เกษตรกรควรอย่าให้มีน้ำขัง บริเวณโคนต้น และไม่ควรใส่ปุ๋ยหมักหรือ ปุ๋ยคอกมากเกินในช่วงฤดูฝน
No comments:
Post a Comment